วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Soy Peptide มีประโยชน์ต่อสมอง

Soy Peptide หรือ เปปไทด์ถั่วเหลือง คือหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ช่วยให้สมองและจิตใจได้คลายเครียดลงได้ชนิดที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น สารอาหารมหัศจรรรย์ ที่ดีต่อสมองกันเลยทีเดียว ...
เปปไทด์ก็คือ โปรตีนที่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์จนมีโมเลกุลขนาดเล็กนั่นเอง โปรตีนนั้นเป็นสารอาหารแหล่งเดียวที่ให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งร่างกายจะนำมาสร้างเป็นสาร Bioactive ที่ใช้ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย นับตั้งแต่ระบบภูมิคุ้มกัน ฮีโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) ฮอร์โมนบางชนิด และสารสื่อนำประสาท(Neurotransmitter)

ทั้งนี้สารอาหารประเภทโปรตีนนั้นประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดคือ กรดอะมิโนต่อกันเป็นสายยาวๆเรียกว่า พอลิเปปไทด์ (Polypeptide) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารโปรตีนเข้าไปแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์หรือน้ำย่อย จนโปรตีนมีขนาดโมเลกุลที่เล็กลงขนาดที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ผ่านทางลำไส้เล็ก

แต่ขบวนการดูดซึมที่ลำไส้เล็กนั้นไม่ได้มีแต่เพียงโปรตีนโมเลกุลที่เล็กที่สุดอย่างกรดอะมิโนเท่านั้นแต่ยังมีกรดอะมิโนที่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มนั่นก็คือ เปปไทด์ที่ได้รับการดูดซึมด้วย

จากผลการวิจัยหลายฉบับ ชี้ให้เห็นว่าที่บริเวณลำไส้เล็กนั้น มีช่องทางพิเศษสำหรับให้ร่างกายสามารถดูดซึมเปปไทด์ได้โดยตรง เรียกว่า Peptide Transporter ซึ่งเป็นช่องทางที่แยกจากช่องทางสำหรับกรดอะมิโน และถ้าจำนวนของกรดอะมิโนที่เกาะมีขนาดค่อนข้างเล็ก เปปไทด์จะถูกดูดซึมเพียงครั้งละ 1 โมเลกุลต่อหนึ่งช่องทางเท่านั้น ขณะที่เปปไทด์จำนวนมากสามารถดูดซึมได้ในทันที

ดังนั้น Soy Peptide จึงสามารถถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อร่างกายมีความจำเป็นต้องใช้โปรตีนทดแทน เนื่องจากผ่านการย่อยมาแล้ว

ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ด้านอาหารได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถสกัดย่อย Soy Peptide ให้แก่ผู้บริโภคได้ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ชี้ชัดถึงคุณประโยชน์ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

ได้มีการทดลองเกี่ยวกับการตอบโจทย์การคำนวณและการใช้ความจำ โดยกลุ่มแรกได้รับ Soy Peptide ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า Soy Peptide มีคุณสมบัติในการลดความเครียด เพราะ Soy Peptide มีผลให้ระดับของฮีโมโกลบินที่มีออกซิเจนไหลเวียนในสมองส่วนหน้าสูงขึ้นทำให้สมองมีความสดชื่น

นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการวิจัยจาก Nation Food Research Institute ประเทศญี่ปุ่นที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภค Soy Peptide ในช่วงระหว่างวันสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียด รวมถึงลดความเหนื่อยล้าของสมองจากการทำงานหรือเรียนหนังสือได้เช่นกัน

การดื่ม Soy Peptide ในช่วงเช้าสมองจะมีความตื่นตัวโดยรู้สึกตื่นพร้อมทีจะทำงานต่อไป ในขณะที่การได้รับ Soy Peptide ในช่วงบ่ายหรือค่ำ สมองจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลดความรู้สึกอ่อนล้าของสมองได้.

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาหารอิ่มนานและต้านอ้วน

ดอกเตอร์เดวิด คัมมิงส์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอทเทิล สหรัฐฯ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 16 คน สุ่มให้กินเครื่องดื่ม 3 ชนิด ซึ่งมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ไม่เท่ากัน
กลุ่มตัวอย่าง จะได้รับการตรวจเลือดก่อนเริ่มการทดลอง และดูดเลือดไปตรวจทุกๆ 20 นาที ติดต่อกัน 6 ชั่วโมง เพื่อวัดระดับฮอร์โมน “เกรลอิน (ghrelin)” หรือฮอร์โมนฝ่ายหิว

ฮอร์โมนเกรลอินสร้างจากกระเพาะอาหาร ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้เพิ่มความอยากอาหาร (appetite)

ผลการศึกษาพบว่า อาหารประเภทคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรตได้แก่ แป้งและน้ำตาลออกฤทธิ์กดฮอร์โมนฝ่ายหิวได้ชั่วคราว

หลังจากนั้นฮอร์โมนฝ่ายหิวจะเด้งกลับ (rebound) เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับเดิม สรุปง่ายๆ คือ ยิ่งกินคาร์บ (แป้ง น้ำตาล) มาก ยิ่งหิวมาก

อาหารประเภทโปรตีนได้แก่ โปรตีนจากไข่ นม เนื้อ ถั่ว ออกฤทธิ์กดฮอร์โมนฝ่ายหิวได้มากที่สุด และนานที่สุด

ดังนั้นอาหารที่ช่วยให้อิ่มนาน และต้านอ้วนได้มากที่สุดน่าจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

* มีโปรตีนสูงหน่อย (มีไข่ นม เนื้อ หรือถั่ว) เพื่อช่วยให้อิ่มได้มาก และอิ่มได้นาน
* มีไขมันชนิดดี โดยเฉพาะน้ำมันปลา หรือน้ำมันพืชที่ไม่ใช่กะทิ และน้ำมันปาล์มเล็กน้อย เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารช้าลง และอิ่มนานขึ้น

ข้อควรระวังในการกินอาหารโปรตีนสูงหน่อยได้แก่

* ผู้ใหญ่ทั่วไปไม่ควรกินไข่แดงเกิน 2 ฟองต่อสัปดาห์ เนื่องจากมีโคเลสเตอรอลสูง ไข่ขาวกินมากหน่อยได้ เพราะไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล
* เด็กไม่ควรกินไข่แดงเกินวันละ 1 ฟอง
* นม ไขมันเต็มมีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันอิ่มตัวทำให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลเพ่มขึ้น ควรเปลี่ยนเป็นนมไขมันต่ำ หรือนมไม่มีไขมัน ถ้าเป็นนมเติมวิตามินดี จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้ด้วย
* เนื้อ แดงไม่ติดมัน… ถ้ากินมากเกินสัปดาห์ละ 3 ฝ่ามือผู้ใหญ่ (ไม่รวมนิ้วมือ) อาจทำให้ได้รับไขมันสัตว์ที่ติดมากับเนื้อมากขึ้น ไขมันสัตว์มีไขมันอิ่มตัวสุง ทำให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นได้
* เนื้อสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ฯลฯ ควรลอกหนังออกก่อนปรุงอาหาร เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่มีมากในหนังสัตว์
* ควร เสริมโปรตีนจากพืช โดยเฉพาะโปรตีนจากถั่วชนิดต่างๆ แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประมาณครึ่งหนึ่ง เนื่องจากโปรตีนจากถั่วมีไขมันอิ่มตัวต่ำกว่า มีไขมันชนิดดีสูงกว่า และมีเส้นใย(ไฟเบอร์)ชนิดละลายน้ำ ซึ่งช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ทำให้อิ่มนานขึ้น
* ควรเปลี่ยน ข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง หรือเปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท(สีรำ) เนื่องจากข้าวกล้อง และขนมปังโฮลวีทมีโปรตีนสูงกว่าข้าวขาว และขนมปังขาว

เรียนเสนอให้ ท่านที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเดินรวมกันให้ได้อย่างน้อยวันละ 60 นาที ขึ้นลงบันไดตามโอกาส เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มระดับการใช้กำลังงานทุกวัน


แบ่งปัน 

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รังแคที่หนังศรีษะ

รังแคที่หนังศรีษะ รังแคมีลักษณะเป็นขุยขาวเล็กที่บริเวณหนังศีรษะ ทำให้มีอาการคัน และมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคัน และจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญ และบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก

แบ่งปัน 
บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก รังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย เนื่องจากรังแคคือขุยบนเส้นผม บนหนังศีรษะ อาจมีลักษณะแห้งหรือมันก็ได้ เป็นความแปรปรวนของเซลล์หนังศีรษะที่แบ่งตัวมากขึ้นกว่าปกติ แล้วหลุดออกง่าย  และเร็วกว่าปกติ กลายเป็นขุยขนาดใหญ่ที่สามารถสังเกตได้
ปัญหารังแคเกิดขึ้นที่เซลล์ชั้นบนสุดของหนังศีรษะลอกตัวหลุดออก ตามปกติแล้วเซลล์หนังศีรษะของคนเรา ซึ่งเกิดใหม่จะค่อยๆ เลื่อนจากใต้ผิวหนังขึ้นมาจนถึงผิวชั้นบนสุด และหลุดออกไปในเวลา ประมาณ 28 วันโดยเฉลี่ย โดยเซลล์ที่หลุดออกจะเป็นชิ้นเล็กๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น แต่ถ้ามีสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้วงจรนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้น เช่น จาก 28 วัน เหลือแค่ 7-21 วัน โดยเซลล์ที่หลุดออกแทนที่จะเป็นชิ้นเล็ก กลับมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นขุยสีขาวหรือเทา และมองเห็นได้ชัด แถมยังจะมีอาการคันศีรษะร่วมด้วย แสดงว่ามีรังแคเกิดขึ้น หนังศีรษะมีเซลล์ที่ตายแล้วหลุดลอกอยู่ตลอดเวลา แต่คนที่มีรังแคนั้นเซลล์ผิวหนังจะหลุดลอกเร็วมาก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเครียด ไปจนถึงต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป รวมทั้งผิวหนังอักเสบที่เรียกว่า ผื่นรังแค (seborrhoeic dermatitis)
รังแคเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก บางคนอาจมีรังแคมาก บางคนอาจมีรังแคน้อย หรือไม่มีเลยก็ได้ หนังศีรษะที่มีรังแคจะคัน และมีกลิ่นเหม็น จากสถิติพบว่ารังแคมักเกิดขึ้นตั้งแต่อายุก่อน 20 ปี โดยทั่วไปวัยรุ่นจะเริ่มมีรังแค และเมื่ออายุ 50 ปี จะสังเกตพบว่ารังแคเริ่มหายไป จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าชาวคอเคเชียนประมาณครึ่งหนึ่งมีปัญหาเรื่องรังแค
สาเหตุ
  1. รังแคเกิดได้อย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเชื้อราชนิดหนึ่ง และฮอร์โมนแอนโดรเจน มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดรังแค ภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย มีความเครียด รังแคอาจกำเริบขึ้นมาอีกได้
  2. เชื้อราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดรังแคเป็นเชื้อราเซลล์เดียว หรือที่เรียกว่า 'เชื้อยีสต์' ชื่อวิทยาศาสตร์คือ malassezia หรือชื่อเดิมว่าpityrosporum เชื้อราพวกนี้อาศัยอยู่ที่หนังศีรษะ กินน้ำมันที่สร้างมาจากต่อมรากผมและต่อมไขมันเป็นอาหารโดยปกติไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด แต่บางครั้งพบว่าเชื้อกำเริบและเติบโตรวดเร็วผิดปกติ จะก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังศีรษะ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวที่เร็วขึ้น และพบมีเซลล์ที่ตายแล้วอยู่บนหนังศีรษะเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดเป็นรังแคในที่สุด
  3. คนที่หนังศีรษะมันมากจึงมักเป็นรังแคง่าย มีหลักฐานบ่งชี้ว่ารังแคมักเกิดจากเชื้อราเซลล์เดียว หรือที่เรียกว่า 'เชื้อยีสต์' ชื่อ พิไทโรสโพรัม ออร์บิคูแลร์ (pityrosporum orbiculare) ซึ่งกินน้ำมันที่ผิวหนังเป็นอาหาร
  4. รังแคยังอาจเกิดจากการรบกวนต่อหนังศีรษะ ซึ่งอาจเป็นทางเคมีหรือกายภาพก็ได้ การรบกวนทางเคมี เช่น แชมพู น้ำยาดัดผม หรือน้ำยาย้อมผม ส่วนการรบกวนทางกายภาพ เช่น การเกา การถู เป็นต้น
  5. บางคนเชื่อว่า รังแคเกิดจากผิวหนังแห้ง ผิวหนังมันเกินไป การสระผมด้วยแชมพูบ่อยเกินไป การสระผมด้วยแชมพูน้อยเกินไป ภาวะโภชนาการไม่ดี ความเครียด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งทรงผมมากเกินไป
อาการ
  1. ผิวหนังคัน และลอก ซึ่งเป็นได้ทั้งใบหน้า และอก รวมทั้งหนังศีรษะ
  2. รังแคทำให้มีอาการคัน และมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคัน และจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญ และบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก
  3. โรคบางอย่างที่ก่อให้เกิดโรครังแคได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคผิวหนังอักเสบ การแพ้สารเคมีบางชนิด เป็นต้น
  4. รังแคมีทั้งชนิดผมมัน และชนิดผมแห้ง อาจตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการก้มศีรษะลง วางกระดาษดำ หรือผ้าสีเข้มๆ ไว้ตรงหน้า แล้วหวีเอาฝุ่นผงต่างๆ จากเส้นผมออก ดูว่าฝุ่นผงที่หลุดมาจากเส้นผมมีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นผงเล็กๆ เหมือนแป้ง แสดงว่าเป็นปัญหารังแคผมแห้ง แต่ถ้าฝุ่นผงที่หลุดออกมามีลักษณะชิ้นใหญ่ เป็นก้อน และชื้น แสดงว่าเป็นปัญหารังแคผมมัน
  5. โดยทั่วไปรังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย แต่ถ้ามีรังแคมาก ร่วมกับอาการคัน หรือผื่นแดงที่หนังศีรษะ อาจเป็นอาการของโรคผิวหนัวบางชนิด เช่น โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม (seborrheic dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือโรคแพ้สารเคมี หรือน้ำยาบางอย่าง
การวินิจฉัย
สามารถให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์
การรักษา
  1. ดูแลเอาใจใส่ผมด้วยการสระผมบ่อยๆ จะช่วยให้ดีขึ้นได้ พิจารณาใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาบางตัว เช่น เซเลเนี่ยม ซัลไฟด์ (selenium sulfide) , ซิงค์ ไพรีตั้น (zinc pirition) หรือ คีโตโคนาโซล (ketoconazole) เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ปัญหารังแคทุเลาเบาบางลงได้ โดยใช้สระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เนื่องจากมีส่วนผสมของตัวยาที่อาจทำให้ผมแห้งเป็นสีเหลืองน้ำตาลได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
  2. เวลาสระผมต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีแล้วค่อยล้างออก เพื่อให้แชมพูออกฤทธิ์เต็มที่ ยิ่งเป็นรังแคมากก็ยิ่งต้องทิ้งไว้นาน ยีให้เป็นฟองทั่วศีรษะ แล้วใช้หมวกอาบน้ำคลุมไว้สัก 1 ชั่วโมงค่อยล้างงออก
  3. เลือกใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซีลีเนียมซัลไฟด์ (selenium sulphide) ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione) หรือทาร์ (tar) สารสองอย่างแรกช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์หนังศีรษะ มีอยู่ในแชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยน เช่น เฮดแอนด์โชลเดอร์ส ส่วนแชมพูที่ผสมทาร์จะยับยั้งการเติบโตของเซลล์ แชมพูทั้งสองชนิดนี้ล้วนขจัดรังแคได้ดีกว่าแชมพูที่ผสมซัลเฟอร์ (sulphur) หรือกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ซึ่งแค่ทำให้หนังศีรษะหลุดลอกออกมา แล้วล้างออกไประหว่างการสระ
  4. ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยนแล้วไม่ดีขึ้น ให้ใช้แชมพูผสมสารคีโตโคนาโซล (ketoconazole) เช่น ไนโซรัล คีโตโคนาโซลเป็นยาฆ่าเชื้อรา จะช่วยฆ่ายีสต์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดรังแค
  5. ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคไปสักพักแล้วเริ่มกลับมามีรังแคอีก แสดงว่าหนังศีรษะาจเกิดอาการดื้อยา ลองเปลี่ยนไปใช้แชมพูที่ผสมสารขจัดรังแคชนิดอื่น ใช้ไปสัก 2-3 เดือนแล้วค่อยกลับมาใช้ยี่ห้อเดิม
แชมพูขจัดรังแคหรือ Antidandruff
สารที่เป็น Anti-dandruff นั้น ควรมีคุณสมบัติ 2 อย่าง คือ
  1. ลดการแบ่งตัวของเซลล์ที่หนังศีรษะ และต้านเชื้อแบคทีเรียด้วย ได้แก่ ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione หรือ ZPT) และ เซลิเนียมซัลไฟต์ (selenium sulfide)
  2. สามารถลดขุย (keratolytic) ขจัดเซลล์ชั้นที่ตายแล้วให้หลุดออกไป ได้แก่ รีซอร์ซินอล (resorcinol) ซัลเฟอร์ (sulfur) และกรดซาลิซิลิค (salicylic acid)
จากการทดลองพบว่า สารที่ได้รับการยืนยันว่าได้ผลในการขจัดรังแคและมีความปลอดภัย ได้แก่
  • 1-2% ZPT
  • 1% Selenium sulfide
  • 1-3% Salicylic acid
  • 2-5% Sulfur
เลือกใช้แชมพูขจัดรังแคอย่างไรดี
  1. ถ้ามีรังแคเพียงเล็กน้อย การใช้แชมพูธรรมดาๆ ก็สามารถช่วยได้แล้ว ปฏิบัติร่วมกับการดูแลเส้นผม และหนังศีรษะอย่างถูกต้อง เช่น ไม่เกา ไม่ขูดหนังศีรษะแรงเกินไป โดยต้องสระผมให้บ่อยพอควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก และมีอาการคัน
  2. ถ้ามีรังแคค่อนข้างมาก ควรเลือกใช้แชมพูที่ผสมตัวยาที่กล่าวไปแล้ว ที่นิยมใช้กันมาก คือ ZPT และ selenium sulfide เนื่องจากใช้ได้ผลดีกว่า salicylic acid และ sulfur ซึ่งใช้ได้ผลดีพอควร ถ้านำมาผสมกัน
  3. ZPT มีข้อดีกว่า selenium sulfide ที่มีข้อแทรกซ้อนน้อยกว่า ในแง่ของการเกิดพิษต่อตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ
  4. selenium sulfide ยังมีกลิ่นไม่ค่อยดีนัก ทำให้บางคนไม่ชอบใช้ได้
สระผมอย่างไรให้ถูกวิธี
  1. การสระผมให้ถูกวิธีนั้น ควรสระผมเบาๆ โดยไม่เกาเพื่อไม่รบกวนหนังศีรษะ ไม่ว่าจะใช้แชมพูใดก็ตาม
  2. สำหรับ ZPT shampoo นั้นหลังจากขยี้ผมทั่วแล้ว ให้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยล้างออก
  3. ถ้าเป็นรังแคเพียงเล็กน้อย คันไม่มาก สามารถใช้แชมพูธรรมดาสระผมทุกวัน เพื่อขจัดอาการคันให้หายไป ห้ามเกาแรงหรือหวีขูดหนังศีรษะเป็นอันขาด
  4. ถ้ามีรังแคปานกลาง คันไม่มาก ใช้ ZPT shampoo สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็ช่วยลดอาการคัน และปริมาณรังแคได้
  5. ถ้ามีรังแคค่อนข้างมาก และคันมาก ควรสระผมด้วย ZPT ทุกวัน
  6. การขจัดรังแคบนหนังศีรษะ ต้องอาศัยการดูแลผม และหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงการรบกวนต่อหนังศีรษะโดยเฉพาะการเกา การสระผมให้ถี่พอ และควรสระเมื่อมีอาการคัน ไม่ปล่อยทิ้งไว้โดยใช้แชมพูที่เหมาะสม แต่ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาว่าอาจเป็นโรคอื่นของหนังศีรษะ ควรไปปรึกษาแพทย์